วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา


 
''ฝาสานไม้ไผ่''
ประวัติการสานฝาไม้ไผ่ของบ้านค่ายรวมมิตร

      การสานฝาไม้ไผ่เริ่มต้นครั้งแรกที่ หมู่ที่ 8 บ้านค่ายรวมมิตรตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลโดยการแนะนำของนายอุโมก กาญจนวานิชเจ้าของลำปำรีสอร์ทอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้มาแนะนำครอบครัวนายอนันต์ คุ้มกันโดยให้นายอนันต์ คุ้มกันถอดลายลูกแก้วจากย่านลิเภาซึ่งอยู่ที่ไม้เท้าของน้องชาย โดยใช้ตอกสำหรับสานเข่ง มาสานเป็นลายลูกแก้วเพื่อทำเป็นฝาสาน โดยทำครั้งแรกเป็นลายดอกพิกุล และพัฒนามาเป็นลายลูกแก้วทำธรรมดา และลายลูกแก้วสองชั้น โดยมีพี่น้อง 3 คน เป็นผู้ให้กำเนิดฝาสานไม้ไผ่ที่บ้านค่ายรวมมิตรคือ
1. นายเพียร คุ้มกัน (นายอนันต์ คุ้มกัน)
2.นายนิพนธ์ คุ้มกัน
3.นายสมปอง คุ้มกัน
โดยสนทำเป็นฝาบ้านและประกอบเป็นบ้านหลังแรกของลำปำรีสอร์ท โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในบ้านค่ายรวมมิตรคือ
- ไผ่บาง
- ไผ่มัน
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2527กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้มาแนะนำวิธีการผ่าไม้ไผ่เพื่อประหยัดเวลาและให้ตอกมีขนาดเท่ากันโดยได้นำเอารูปแบบของที่กรองขยะจากท่อประปานำมาย่อขนาดให้เล็กลงเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของไม้ไผ่แล้วนำมาทดลองโดยให้นายนิพนธ์ คุ้มกัน เป็นผู้ทดลองการผ่าในครั้งแรก สามารถผ่าได้ครั้งละ8 ชิ้น เมื่อเห็นว่าได้ผลสำเร็จที่คุ้มค่าเหมาะสมและสามารถประหยัดเวลาประหยัดแรงงานและต้นทุนในการผลิต จึงได้มีการคิดดัดแปลงจากการผ่า 8 มาเป็นผ่า 6,ผ่า 10, ผ่า 12
เนื่องจากไม้ไผ่มีนาดที่แตกต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้ผ่าไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายดอกจำปาจึงได้เรียกชื่อว่า “จำปาผ่าไม้ไผ่” ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องมือที่ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้แนะนำให้ใช้ได้นำมาทดลองใช้ โดย นายอนันต์ คุ้มกัน ทดลองอยู่เป็นเวลา 2ปี และได้นำเครื่องมือการผ่าไม้ไผ่ส่งคืนศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้เพื่อเก็บไว้ให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น