วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แหล่งที่มา

http://www.otoptoday.com/wisdom/provinces/south/%

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต


 
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
 
 เคล็ดลับในกรผ่าไม้ไผ่การผ่าไม้ไผ่ต้องผ่าจากคนไม้ไผ่ เพราะจำทำให้ผ่าได้สะดวกจากปลายจะไม่ติดที่ข้อปล้อง
 1.การดูไม้ไผ่ว่าแก่หรืออ่อน
 2.การสังเกตว่าไม้ไผ่จะแก่หรืออ่อนให้ดูที่ลำของไม้ไผ่หากที่ลำไม้ไผ่มีขุยสีขาวมากกว่าแสดงว่าไม้ไผ่ยังไม่สามารถนำมาทำฝาได้แต่ถ้ามีลำสีขาวน้อยหรือไม่มี หรือมีลักษณะออกเป็นสีส้ม เหลือแสดงว่าไม้ไผ่นั้นแก่จัดสามารถนำมาใช้งานได้ การดูว่าไม้ไผ่สมบูรณ์หรือไม่
3.การสังเกตเวลาจักตอกหากว่าไม้ไผ่หักบริเวณข้อในขณะที่จักตอก แสดงว่าไม้ไผ่ที่ทำนั้นต้นของไม้ไผ่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากสาเหตุไม้ไผ่ยอดด้วน ฉะนั้นในการจักสานฝาไม้ไผ่ ถ้าได้ไม้ไผ่ที่แก่และเหมาะสม จะทำให้ฝานั้นสวยมีความคงทน

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

  •  จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

การสานฝาเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ตกทอดมาแต่โบราณต้องใช้ความสามารถ ความรอบคอบ ความละเอียด และความประณีตในการปฏิบัติงานทั้งยังเป็นการฝึกนิสัยผู้ปฏิบัติให้มีความรอบคอบ เรียบร้อยและยังนำผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพื่อช่วยเหลือครอบครัวได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์มีลวดลายหลากหลาย มีความสวยงาม ฝีมือปราณีต มีความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลวดลายให้เลือกมากกว่า 20 ลาย ราคายุติธรรม นำไปทำที่พัก รีสอร์ท เพื่อโชว์ความสวยงามของลายเป็นที่ชอบใจของลูกค้าต่างประเทศเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นภูมปัญญาที่สร้างกระบวนการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไป

ขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนการทำ

1.นำตอกไม้ไผ่ที่ผ่าเรียบร้อยแล้วมาวางเรียงกัน และคัดตามลายที่ต้องการ ได้แก่ลายหนึ่ง ลายสอง ลายสาม ลายลูกแก้ว หรือลายดอกพิกุล
การวางไม้ไผ่ลายสอง
ลายลูกแก้ว
ทุกเพศ/ทุกวัยสานฝาไม้ไผ่
สองข้างทางเต็มไปด้วยฝาสาน

วัตถุดิบและส่วนประกอบ


''วัตถุดิบและส่วนประกอบ''

 1.เริ่มจากการคัดเลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนและแก่เกินไปวัดขนาดความยาวตามความต้องการและตัดไม้ไผ่ หลังจากนั้นผ่าไม้ไผ่ด้วยดอกจำปาซึ่งเป็นเครื่องมือผ่าไม้ไผ่ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้านที่คิดจะทำให้ได้ซี่ไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่ากันตามจำนวนดอกจำปาที่ใช้ผ่า นำไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วมาจักด้วยมีดตอกแยกออกเป็น 2 เส้นจะได้ด้านขาวและด้านเขียวแล้วนำมาสานให้เป็นลวดลายที่สวยงามต่อไป หลังจากสานฝาเสร็จแล้ว ให้นำฝาไปตากแดดให้แห้ง พยายามอย่าให้โดนฝนเพราะจำทำให้เป็นเชื้อรา 


2. ถุงมือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความปลอดภัยทำจากผ้าหรือหนัง  ควรจัดเก็บในที่แห้งและควรทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเลิกใช้โดยการซักหรือผึ่งแดด







3. ไม้ไผ่









ประวัติความเป็นมา


 
''ฝาสานไม้ไผ่''
ประวัติการสานฝาไม้ไผ่ของบ้านค่ายรวมมิตร

      การสานฝาไม้ไผ่เริ่มต้นครั้งแรกที่ หมู่ที่ 8 บ้านค่ายรวมมิตรตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลโดยการแนะนำของนายอุโมก กาญจนวานิชเจ้าของลำปำรีสอร์ทอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้มาแนะนำครอบครัวนายอนันต์ คุ้มกันโดยให้นายอนันต์ คุ้มกันถอดลายลูกแก้วจากย่านลิเภาซึ่งอยู่ที่ไม้เท้าของน้องชาย โดยใช้ตอกสำหรับสานเข่ง มาสานเป็นลายลูกแก้วเพื่อทำเป็นฝาสาน โดยทำครั้งแรกเป็นลายดอกพิกุล และพัฒนามาเป็นลายลูกแก้วทำธรรมดา และลายลูกแก้วสองชั้น โดยมีพี่น้อง 3 คน เป็นผู้ให้กำเนิดฝาสานไม้ไผ่ที่บ้านค่ายรวมมิตรคือ
1. นายเพียร คุ้มกัน (นายอนันต์ คุ้มกัน)
2.นายนิพนธ์ คุ้มกัน
3.นายสมปอง คุ้มกัน
โดยสนทำเป็นฝาบ้านและประกอบเป็นบ้านหลังแรกของลำปำรีสอร์ท โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในบ้านค่ายรวมมิตรคือ
- ไผ่บาง
- ไผ่มัน
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2527กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้มาแนะนำวิธีการผ่าไม้ไผ่เพื่อประหยัดเวลาและให้ตอกมีขนาดเท่ากันโดยได้นำเอารูปแบบของที่กรองขยะจากท่อประปานำมาย่อขนาดให้เล็กลงเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของไม้ไผ่แล้วนำมาทดลองโดยให้นายนิพนธ์ คุ้มกัน เป็นผู้ทดลองการผ่าในครั้งแรก สามารถผ่าได้ครั้งละ8 ชิ้น เมื่อเห็นว่าได้ผลสำเร็จที่คุ้มค่าเหมาะสมและสามารถประหยัดเวลาประหยัดแรงงานและต้นทุนในการผลิต จึงได้มีการคิดดัดแปลงจากการผ่า 8 มาเป็นผ่า 6,ผ่า 10, ผ่า 12
เนื่องจากไม้ไผ่มีนาดที่แตกต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้ผ่าไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายดอกจำปาจึงได้เรียกชื่อว่า “จำปาผ่าไม้ไผ่” ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องมือที่ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้แนะนำให้ใช้ได้นำมาทดลองใช้ โดย นายอนันต์ คุ้มกัน ทดลองอยู่เป็นเวลา 2ปี และได้นำเครื่องมือการผ่าไม้ไผ่ส่งคืนศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้เพื่อเก็บไว้ให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป


สมาชิกในกลุ่ม

1.เด็กหญิง  นัทธิ์ติกานต์  ปะดุกา
2.เด็กหญิง  สุนิสา  หมาดโด๊ะโสะ
3.เด็กหญิง  สิรินยา  ปะดุกา
4.เด็กหญิง  ณัฐดา  มินโซ๊ะ
5.เด็กหญิง  สุไรดา  แกสมาน
6.เด็กหญิง  อาจีน่า  อุศมา
7.เด็กหญิง  อรดา  หวันชิตนาย
8.เด็กหญิง  อารีรัตน์  แดงโฉมงาม